เทคโนโลยีในการผลิต

ปีพ.ศ. 2424

ประเทศสวีเดน

Michaclis ได้คิดค้นวัสดุก่อสร้างชนิดแรกที่ใช้ก่อผนัง บ่มด้วยไอน้ำ โดยมีส่วนผสมของทรายและปูนขาวเป็นวัตถุดิบหลัก

ปีพ.ศ. 2457

ประเทศอังกฤษ

Aylsworth ได้คิดค้นโดยการเพิ่มฟองอากาศในเนื้อวัสดุ ทำให้มีน้ำหนักเบา โดยใช้ผงโลหะ (Metalic Powder) เป็นตัวทำปฏิกิริยาทางเคมี

ปีพ.ศ. 2466

ประเทศอังกฤษ

Eriksson ได้นำมาพัฒนาโดยรวมวิธีการอบไอน้ำและเพิ่มฟองอาศเข้าด้วยกันในเนื้อวัสดุ ซึ่งเป็นผลให้ได้วัสดุที่เบาและมีความแข็งแกร่งสูง ซึ่งดีกว่าอิฐก่อผนังชนิดอื่นๆ ในโลก การผลิตคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ ได้ถือกำเนิดขึ้น และมีการพัฒนามาจนถึงปีค.ศ. 1929

ปีพ.ศ. 2472

ประเทศเยอรมนี

ในช่วงสงครามโลก ได้มีการพัฒนากระบวนการพัฒนาการผลิตให้เป็นรูปแบบของเครื่องจักร ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อผฃิตคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ สำหรับซ่อมแซมบ้านเรือน อาคารสำนักงานที่เสียหายจากสงครามและต่อมาเป็นที่นิยมอย่างมากในแถบยุโรปและเอเชีย

ปีพ.ศ. 2538

ประเทศไทย

ด้วยประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้กับนักลงทุน แต่ทว่า งานก่อสร้างในประเทศไทยยังมีปัญหาในด้านการควบคุมคุณภาพการผลิตอิฐก่อผนัง ดังนั้นผู้ประกอบการรายใหญ่ จึงค้นพบการแก้ปัญหาในการก่อสร้างและลดความล่าช้าในการส่งมอบงานให้ตรงตามกำหนดเวลา ด้วยการซื้อลิขสิทธิ์การผลิตและเครื่องจักรจากประเทศเยอรมนี จากผู้ผลิตชั้นนำของโลก คือ Heble Ytong และ Wehrhahn เพื่อผลิตสินค้าออกสู่ตลาดในปีพ.ศ. 2539-2540 ตามลำดับ

ปีพ.ศ. 2545

ประเทศไทย

เนื่องจากประเทศไทยมีความนิยมคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำสูงมากขึ้น จึงมีผู้คิดค้นคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ (ไม่อบไอน้ำ) มาทดแทน แต่ไม่เป็นที่นิยมในตลาด เพราะคุณภาพไม่เป็นไปตามาตรฐานสากล